top of page

ลิขสิทธิ์การ์ตูนญี่ปุ่น

“ การ์ตูนญี่ปุ่น ” หรือที่เรียกกันว่า “ มังงะ ” (Manga) เริ่มเข้ามาในเมืองไทยแบบ “ผิดลิขสิทธิ์” ก่อนที่หลายฝ่ายจะหันมารณรงค์และให้ความสำคัญกับการทำการ์ตูนแบบถูกกฏหมายมากขึ้น จากผลสำรวจที่ได้รับมานั้น ระบุว่า “ประเทศไทยคือหนึ่งในประเทศที่นำเข้าการ์ตูนญี่ปุ่นมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามหลังอินโดนิเซียที่เป็นอันดับหนึ่งอยู่ไม่มากนัก” และประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ “แนะนำการ์ตูนให้เพื่อนบ้าน” มากที่สุดอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น “การแนะนำโดเรม่อนให้กับประเทศเวียดนาม”… ทราบหรือไม่ครับว่าการ์ตูนโดเรม่อนเพิ่งได้รับการตีพิมพ์แบบถูกกฏหมายในเวียดนามเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ผ่านการแนะนำของสำนักพิมพ์ไทย และนั่นก็กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในวงการการ์ตูนเลยล่ะครับ มีการจัดนิทรรศการมากมาย และราคาลิขสิทธิ์ของเรื่องนี้ก็สูงขึ้นตามไปด้วย นี่คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทางสำนักพิมพ์ญี่ปุ่นเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านของเราเองก็เลือกซื้อลิขสิทธิ์โดยมองจากสถานการณ์ในเมืองไทยเป็นหลักเช่นเดียวกัน ก่อนจะนอกเรื่องไปไกลกว่านี้ เราย้อนกลับมาเรื่องการซื้อลิขสิทธิ์ดีกว่า โดยปกติแล้วหนังสือการ์ตูนจะติดต่อซื้อลิขสิทธิ์ผ่าน “เอเจนซี่” ครับ เพราะสำนักพิมพ์ญี่ปุ่นเขาถือว่าจะไม่ทำงานกับบุคคลที่ไม่รู้จัก แบบว่าอยู่ๆ เรามีเงินแล้วอยากเอาการ์ตูนมาตีพิมพ์ในไทย ก็เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย สำนักพิมพ์ในญี่ปุ่นจะให้เอเจนซี่เป็นคนจัดการ เปรียบเสมือนการคัดกรองคนในระดับหนึ่ง โดยเอเจนซี่เหล่านี้ก็จะมีหน้าที่เตรียมงาน เตรียมข้อเสนอ ตลอดจนให้คำแนะนำกับเจ้าของลิขสิทธิ์ว่าผู้ที่ขอซื้อการ์ตูนมีบริบท เบื้องหลังอย่างไร เหมาะกับเนื้อหาของการ์ตูนรึเปล่า โดยเฉพาะในกรณีที่มีหลายสำนักพิมพ์แย่งลิขสิทธิ์กัน บทบาทของเอเจนซี่ถือว่าสำคัญมากๆ 

อีกหนึ่งวิธีของสำนักพิมพ์ใหม่ๆ ที่อยากได้ลิขสิทธิ์การ์ตูน ก็คือการตระเวนไปตาม BOOK FAIR ต่างๆ ซึ่งจะมีเจ้าของลิขสิทธิ์มาแวะเวียนกัน แต่นั่นหมายถึงว่าเราต้องมี Company Profile หรือ Portfolio เตรียมไว้ในระดับหนึ่ง เพื่อใช้โน้มน้าว ยกตัวอย่างสมมติเราเป็นสำนักพิมพ์ใหม่มากกกกกกกกกกกก และอยากจะตีพิมพ์การ์ตูนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เราก็อาจต้องหาคนที่เก่งวิทยาศาสตร์มากๆ มาเป็นทีมงาน และระบุใน Port ของเราว่า “สำนักพิมพ์ของเรามีนักวิทยาศาสตร์ที่ได้เกียรตินิยมเหรียญทองจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของเมืองไทย นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่รักการ์ตูนมากอีกด้วย ดังนั้นเราคิดว่าการแปลหนังสือเล่มนี้ จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้อ่านและเจ้าของลิขสิทธิ์” คือเราต้องพยายาม Present จุดเด่นของตนเองออกไปให้มากที่สุดน่ะครับ และหลังจากเราทำแบบนี้ไปได้สักสี่ห้าครั้ง เราก็จะเริ่มมีผลงานเป็นของตนเอง และมันก็จะค่อยๆ ง่ายขึ้นตามลำดับ

ต้นทุนในการผลิตการ์ตูนแต่ละเรื่องถือว่าสูงมาก เราต้องคำนึงถึงทั้ง “ค่าลิขสิทธิ์” รวมถึงเงินหักจ่ายล่วงหน้าต่อการตีพิมพ์ 1 ครั้ง และยังจะมีรายละเอียดปลีกย่อยคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อการจัดจำหน่ายแต่ละเล่มอีก ซึ่งทางสำนักพิมพ์จะต้องรายงานอย่างเคร่งคัดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ เฉลี่ยแล้วการ์ตูนเล่มหนึ่งต้องลงทุนเกือบๆ หนึ่งล้านบาทเลยครับ ไหนจะนักแปล ซึ่งบางครั้งก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาตรวจสอบ ไหนจะค่าวางบนชั้นหนังสือ (ตามร้านดังๆ จะมี Cost พวกนี้หมดเลยนะ) บางร้านใหญ่ๆ จะเสียค่าวางหนังสือเกือบ 30% ของราคาหนังสือด้วยซ้ำ และนี่ก็คืออีกเหตุผลหนึ่งที่เราเห็นหนังสือการ์ตูนมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากๆ ส่วนหนึ่งเพราะต้องอ้างอิงจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้ล่ะค่ะ

1.png
2.png
BE IN 
TOUCH

by Napassorn  Montholthong No. 38 BCM. 3/3 

  • White Facebook Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
  • White Instagram Icon
bottom of page