จุดกำเนิดของการ์ตูนมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน? บรรพบุรุษการ์ตูนญี่ปุ่นมีที่มาจากไหน ไปร่วมค้นหากันดีกว่า!
จุดเริ่มต้นของการ์ตูนมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน?
ก่อนอื่นลองดูที่ภาพนี้กันก่อนเลย

( รูปภาพโดย wikipedia )
จะเห็นว่าคุณกบกับคุณกระต่ายกำลังเล่นซูโม่กันอย่างสนุกสนาน
ภาพนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงระหว่างยุคเฮฮันและยุคคามาคุระ(ประมาณศตวรรษที่ 12~13) เป็นภาพวาดหนึ่งหน้าของม้วนคัมภีร์รูปภาพที่เก่าแก่มากทีเดียว
มีชื่อเรียกว่า『 โจจูจินบุทสึกิงะ 』เป็นภาพวาดขบขันที่วาดพวกสัตว์ต่างๆให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวเลียนแบบมนุษย์ ลักษณะเด่นของอารมณ์ขันแบบนี้แม้แต่ในการ์ตูนทั่วไปก็พบเจอได้ เช่นกัน

ลิงที่ใช่ชุดเหมือนพระสงฆ์และกำลังสวดอภิธรรมและกบที่กำลังแกล้งเล่นเป็นพระพุทธรูป
ซึ่งฉากแบบนี้เองก็มีปรากฏอยู่ในการ์ตูนสมัยใหม่ด้วยเช่นกัน
(รูปภาพโดย wikipedia)
และหากลองสังเกตที่บริเวณปากของลิงในรูป ก็จะเห็นว่ามีเส้นออกมาจากปากลิง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงท่าทางของลิงว่ากำลังพูดคุยอยู่ด้วย
การใช้สัญลักษณ์เพื่อเป็นสื่อแทนการแสดงออกหรืออากัปกริยา เทคนิคแบบนี้แม้แต่การ์ตูนสมัยใหม่ก็นำมาใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเทคนิคนี้ได้เคยมีอยู่ก่อนและถูกนำมาใช้กับคัมภีร์ภาพวาดสมัยโบราณเมื่อ 800 ปีก่อนนั่นเอง! ซึ่งถ้ามองจากจุดนี้จึงพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า『โจจูจินบุทสึกิงะ』คือต้นกำเนิดของการ์ตูนในปัจจุบัน
คัทสึชิกะ โฮคุไซ ศิลปินผู้ถ่ายทอดเรื่องราว「จิตใจของการ์ตูน」
คัทสึชิกะ โฮคุไซ จิตรกรภาพอุคิโยะ (ภาพวาดแสดงชีวิตความเป็นอยู่และความบันเทิงของผู้คนในสมัยเอโดะ)คือหนึ่งในจิตรกรที่มีชื่อเสียงในวงการภาพอุคิโยะ ในสมัยเอโดะ

『冨嶽三十六景( ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ )「神奈川沖浪裏(คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานากาวะ」』คือผลงานที่มีชื่อเสียงของคัทสึชิกะ โฮคุไซ
ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปินทางฝั่งยุโรปตะวันตก อาทิเช่น นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส เดอบูซี จิตรกรชาวดัตช์ แวนโก๊ะ
(รูปภาพโดย wikipedia)
เขาได้ตีพิมพ์หนังสือรวมภาพสเก็ตซ์ของตัวเองที่มีชื่อว่า 『 โฮคุไซมังงะ 』หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าเป็นหนังสือต้นแบบของภาพวาด โดยมีภาพวาดของทิวทัศน์ พืชและสัตว์ อุปกรณ์จำเป็นในการดำเนินชีวิต ไปจนถึงภาพวาดของภูตผีปิศาจและอื่นๆอีกหลายภาพถูกตีพิมพ์อยู่

รูปด้านขวาคือภาพวาดในเชิงตลกล้อเลียนของผู้เชี่ยวชาญการตกปลาที่กำลังตกปลา
ส่วนรูปด้านซ้ายคือภาพวาดแสดงวิธีตกกัปปะ(สัตว์น้ำในตำนานของญี่ปุ่น) โดยด้านล่างจะมีรูปของกัปปะซึ่งเป็นสัตว์ในโลกแห่งจินตนาการถูกวาดอยู่ด้วยพลาด
(รูปภาพโดย 無為庵乃書窓)
โฮคุไซมังงะนั้น คัทสึชิกะ โฮคุไซบอกว่า「 ภาพวาดทั้งหมดวาดขึ้นจากรสนิยมภายในจิตใจของตนเอง 」เป็นภาพวาดที่แสดงออกถึงธรรมชาติและพฤติกรรมของบุคคลในเชิงขบขัน
แม้แต่สิ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้และสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งมวลก็ถูกนำมาวาดด้วย บางทีแล้วโฮคุไซมังงะอาจจะเป็นผลงานที่ผสานทั้งเทคนิคการวาดภาพและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดไว้ด้วยกันก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะถูกถ่ายทอดไปยังการ์ตูนสมัยใหม่ก็เป็นได้นะ
ยุคสมัยเมจิ - ก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ยุคที่ตัวตนของการ์ตูนเริ่มปรากฏตัว
ยุคสมัยเมจิ คือยุคที่มีการปฏิรูปอารยธรรมให้เป็นแบบตะวันตก คิตะซาวะ ราคุเท็นได้รับอิทธิพลจากนักเขียนการ์ตูนชาวออสเตรเลียที่ทำงานอยู่ที่เดียวกัน จึงได้ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานการ์ตูนเสียดสีสังคมและกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในยุโรป
การ์ตูนของเขาที่มีชื่อว่า『Tagosaku to Mokube no Tokyo Kenbutsu』เป็นการ์ตูนเสียดสีสังคมที่เข้มข้นและแฝงไปด้วยมุขตลกที่เรียกเสียงหัวเราะจากผู้อ่านได้เสมอๆ

ผลงานการ์ตูนเรื่องราวบทสนทนาเบาสมองระหว่างนักบุกเบิกโมคุเบและชาวนาจากบ้านนอกที่เดินทางเข้ามายังโตเกียว
จากรูปเป็นกำลังบรรยายถึงการพยายามที่จะดื่มน้ำก๊อกอย่างเอาเป็นเอาตายแต่ไม่รู้วิธีเปิดน้ำประปา
(รูปภาพโดย wikipedia)
ตรงข้ามกับผลงานที่สร้างสรรค์แรงขับดันสู่ภายในจิตใจที่ว่า「วาดขึ้นจากรสนิยมภายในจิตใจของตนเอง」ของโฮคุไซมังงะที่ได้แนะนำไปแล้วก่อนหน้านี้ การ์ตูนเสียดสีสังคมของคิตะซาวะ ราคุเท็น ถือเป็นผลงานที่มุ่งแสดงความปรารถนาภายในจิตใจสู่ภายนอกหรือก็คือการวิพากษ์วิจารณ์สังคมและความเคลื่อนไหวของโลกใบนี้ จากเรื่องนี้จึงทำให้เราทราบว่า แม้แต่ผู้คน จิตใจและบทบาทของการ์ตูนเองก็จะหมุนเวียนปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเหมือนกับยุคสมัยจากเอโดะที่เปลี่ยนไปสู่ยุคเมจิ ตัวตนของการ์ตูนจึงค่อยๆปรับเปลี่ยนและวิวัฒนาการมาในลักษณะนี้นั่นเอง
นอกจากนี้ หลังจากที่เข้าสู่ยุคสมัยโชวะ ยังมีการ์ตูนที่ได้รับความนิยมสูงมากและได้ถูกตีพิมพ์ที่นิตยสารเด็กนั่นคือ『โนระคุโระ』และ『冒険ダン吉(โบเค็นดันคิจิ)』โดยสัดส่วนตัวละครที่ดูแปลกๆไม่สมส่วนคือเอกลักษณ์ของการ์ตูนเรื่องนี้ ซึ่งลายเส้นของการ์ตูนในช่วงนี้จะคล้ายคลึงกับลายเส้นของการ์ตูนในยุคปัจจุบัน

ผลงานของทากาวะ ซุยโฮ 『โนระคุโระ』ซึ่งมีตัวเอกคือสุนัขสีดำ
ได้รับความนิยมจากเด็กๆอย่างล้นหลาม เป็นการ์ตูนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างยาวนาน
(รูปภาพโดย INTERNATIONAL INSTITUTE FOR CHILDREN'S LITERATURE OSAKA)
เท็ตสึกะ โอซามุ ชายผู้พลิกโฉมวงการการ์ตูนของญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สูญเสียทรัพย์สินไปพอสมควรทั้งเกี่ยวกับการ์ตูนและสิ่งพิมพ์จากภัยสงครามและกฎของ GHQ แต่นี่เองก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บทบาททางด้านการ์ตูนของญี่ปุ่นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
หากพูดถึงประวัติศาสตร์ของการ์ตูนญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะไม่เอ่ยถึงชื่อเขาคงไม่ได้นั่นคือ เท็ตสึกะ โอซามุ ซึ่งเป็นนักเขียนการ์ตูนที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการการ์ตูนในยุคหลัง แม้แต่ตอนนี้ก็ยังถูกขนานนามว่าเป็น「พระเจ้าแห่งโลกการ์ตูน」

ไม่เพียงแต่การ์ตูนเท่านั้น เท็ตสึกะ โอซามุ
ยังได้แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะทางด้านอนิเมชั่นที่ยากจะหาใครเทียบ
หากไม่มีเขา
วงการการ์ตูนและอนิเมชั่นของญี่ปุ่นอาจจะไม่ได้พัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นได้
(รูปภาพโดย 手塚治虫 - Google Cultural Institute)
ปัจจุบันเขาก็ยังคงมีบทบาททางด้านเทคนิคการผลิตและผู้อำนายการสร้างอยู่ ทั้งการจัดวางองค์ประกอบฉากหลัง บุคคล กรอปคำพูด อีกทั้งยังมีอิทธิพลในการดึงดูดนักอ่านให้มีความสนใจต่อผลงานนั้นๆด้วย นอกจากนี้แล้วยังให้คำแนะนำเรื่องการเปิดเผยเนื้อเรื่องอย่างมีจังหวะและชั้นเชิง จึงไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่ออีกด้วย
ด้วยเทคนิคแบบนี้จึงได้รับเสียงตอบรับที่ดีและยังสืบทอดพื้นฐานของการ์ตูนมาได้อย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน